การรักษา ของ การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009

มีหลายวิธีซึ่งได้แนะนำให้ผู้ป่วยปฏิบัติเพื่อบรรเทาอาการของโรค รวมทั้งการบริโภคน้ำและพักผ่อนอย่างเพียงพอ[139] ยาบรรเทาอาการปวดที่ซื้อมารับประทานเอง เช่น พาราเซตามอลและไอบูโปรเฟน ไม่สามารถฆ่าไวรัสได้ อย่างไรก็ตาม ยาบรรเทาอาการปวดดังกล่าวอาจช่วยลดอาการของโรคได้[140] แต่ไม่แนะนำให้รับประทานแอสไพรินและผลิตภัณฑ์ซาลิไซเลตอื่น ๆ สำหรับทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 19 ปี เพราะอาจเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการเรย์ (Reye syndrome) [141] แต่สำหรับผู้ที่มีเพียงไข้ต่ำๆ และไม่มีอาการแทรกซ้อนอื่น ไม่ควรรับประทานยาบรรเทาไข้[140] คนส่วนใหญ่สามารถฟื้นตัวจากอาการไข้ได้เองโดยไม่ต้องใช้วิธีการทางการแพทย์ อย่างไรก็ตาม ในผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือมีภูมิคุ้มกันต่ำอาจต้องเข้ารับการรักษาเพิ่มเติม[142]

สำหรับผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรได้รับยาต้านไวรัส (โอเซลทามิเวียร์และซานามิเวียร์) โดยเร็วที่สุด เมื่อมีการแสดงอาการไข้หวัดใหญ่เป็นครั้งแรก ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวรวมไปถึงสตรีมีครรภ์และสตรีหลังคลอดบุตร เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี และผู้สุขภาพไม่ดี เช่น มีปัญหาในระบบหายใจ[14] สำหรับผู้ที่มิได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงแต่มีอาการคงที่หรือทรุดลงเรื่อย ๆ ควรได้รับยาต้านไวรัสเช่นกัน อาการดังกล่าวรวมไปถึงการหายใจลำบาก และมีไข้ขึ้นสูงซึ่งกินเวลานานกว่า 3 วัน ในผู้ที่มีอาการปอดอักเสบควรได้รับทั้งยาต้านไวรัสและยาปฏิชีวนะ เช่นเดียวกับในผู้ป่วยรุนแรงซึ่งติดเชื้อไวรัส เอช 1 เอ็น 1 หลายกรณี การติดเชื้อแบคทีเรียจะพัฒนาขึ้น[67] ยาต้านไวรัสจะเป็นประโยชน์มากที่สุดหากให้ผู้ป่วยภายในระยะเวลา 48 ชั่วโมงหลังเริ่มแสดงอาการของโรค และอาจช่วยบรรเทาอาการได้ในผู้ป่วยที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล[143] ในผู้ที่มีอาการปานกลางหรือร้ายแรง หากให้ภายหลัง 48 ชั่วโมง ยาต้านไวรัสอาจยังคงเป็นประโยชน์ได้[12] ถ้าไม่สามารถหาโอเซลทามิเวียร์ (ทามิฟลู) หรือไม่สามารถใช้ได้ มีการแนะนำให้ใช้ซานามิเวียร์ (รีเลนซา) แทน[14][144] เพราะเพรามิเวียร์เป็นยาต้านไวรัสที่อยู่ระหว่างการทดลองจะได้รับอนุมัติให้ใช้ในผู้ป่วยที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลในกรณีซึ่งการรักษาด้วยวิธีอื่นไม่มีประสิทธิภาพหรือไม่สามารถจัดให้ได้[145]

เพื่อหลีกเลี่ยงการขาดแคลนยาดังกล่าว CDC แนะนำว่า การรักษาโดยโอเซลทามิเวียร์ควรจะใช้สำหรับผู้รับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยไข้หวัดใหญ่ระบาดทั่วเป็นหลัก; ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะไข้หวัดใหญ่แทรกซ้อนร้ายแรงเนื่องจากภาวะร่างกายที่ไม่สมบูรณ์ และผู้ป่วยซึ่งเสี่ยงต่อภาวะไข้หวัดใหญ่แทรกซ้อนร้ายแรง CDC เตือนว่า การใช้ยาต้านไวรัสโดยไม่แบ่งแยกว่าใช้เพื่อป้องกันหรือรักษาโรคอาจทำให้เกิดสายพันธุ์ดื้อยา ซึ่งทำให้การรับมือกับการระบาดทั่วเป็นไปได้ยากขึ้น นอกเหนือจากนั้น รายงานของอังกฤษพบว่า คนส่วนใหญ่มักจะไม่ได้รับยาตามกำหนดหรือได้รับการรักษาโดยไม่มีความจำเป็น[146]

ผลข้างเคียง

ในการใช้ยาทั้งสองแบบอาจมีผลข้างเคียง รวมทั้งอาการหน้ามืด คลื่นเหียน อาเจียน เบื่ออาหาร และหายใจลำบาก มีรายงานว่าเด็กอาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นต่อการบาดเจ็บและภาวะมึนงงหลังจากได้รับโอเซลทามิเวียร์[139] องค์การอนามัยโลกยังได้ออกมาเตือนมิให้ซื้อยาต้านไวรัสจากตลาดออนไลน์ และประมาณการว่าครึ่งหนึ่งของยาดังกล่าวจำหน่ายโดยร้านยาออนไลน์ ซึ่งไม่มีที่อยู่ปรากฏชัดเจนและเป็นร้านปลอม[147]

ภูมิคุ้มกัน

จนถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2553 องค์การอนามัยโลกออกมารายงานจำนวนตัวอย่าง 190 ตัวอย่าง จากทั้งหมดมากกว่า 15,000 ตัวอย่าง ของการทดสอบไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ทั่วโลก ได้แสดงให้เห็นว่า เชื้อมีภูมิต้านทานต่อโอเซลทามิเวียร์ (ทามิฟลู) [148] เช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอช 1 เอ็น 1 ตามฤดูกาล ซึ่งจากการทดสอบแล้วพบว่า ตัวอย่างเกือบทั้งหมดกว่า 99.6% ได้พัฒนาภูมิคุ้มกันต่อโอเซลทามิเวียร์[149] อย่างไรก็ตาม ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ยังไม่แสดงภูมิคุ้มกันต่อซานามิเวียร์และยาต้านไวรัสอื่นที่หาได้ในปัจจุบัน[150]

ข้อกังขาประสิทธิภาพของยาต้านไวรัส

เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552 องค์กรความร่วมมือคอเครน (Cochrane Collaboration) ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบหลักฐานทางการแพทย์ ประกาศว่าในการตรวจสอบซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ของอังกฤษว่า จากการสำรวจใหม่พบว่าได้ผลตรงกันข้ามกับผลการสำรวจเดิมที่ว่า ยาต้านไวรัส โอเซลทามิเวียร์ (ทามิฟลู) และซานามิเวียร์ (รีเลนซา) สามารถป้องกันอาการปอดอักเสบและอาการร้ายแรงอื่นซึ่งเชื่อมโยงกับไข้หวัดใหญ่ พวกเขาได้รายงานว่าผลจากการวิเคราะห์การศึกษากว่า 20 ชิ้น ได้แสดงว่า โอเซลทามิเวียร์อาจเป็นประโยชน์เล็กน้อยสำหรับผู้ใหญ่ซึ่งมีสุขภาพดี และได้รับภายในเวลา 24 ชั่วโมงหลังเริ่มแสดงอาการของโรค แต่ยังไม่พบหลักฐานชัดเจนว่ามันจะสามารถป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจหรือภาวะแทรกซ้อนจากไข้หวัดใหญ่[151][152] อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากผลการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการใช้โอเซลทามิเวียร์ในผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ในผู้ใหญ่สุขภาพดี แต่ไม่มีผลการศึกษาเกี่ยวกับการใช้โอเซลทามิเวียร์ในผู้ป่วยซึ่งถูกพิจารณาว่ามีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนสูง (เช่น สตรีมีครรภ์ เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ซึ่งมีโรคประจำตัว) และความไม่แน่นอนเกี่ยวกับบทบาทของมันในการช่วยลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ใหญ่สุขภาพดี ซึ่งอาจมีความจำเป็นที่จะต้องคงการใช้ในฐานะยาที่มีประโยชน์ในการลดระยะเวลาในการแสดงอาการของโรค ในที่สุด ยาต้านไวรัสอาจแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวกับไข้หวัดใหญ่; โดยทั่วไปแล้วองค์กรความร่วมมือคอเครนได้สรุปในสิ่งที่ "ขาดแคลนข้อมูลที่ดี"[152][153]

ผลจำเพาะบางอย่างจากบทความวารสารการแพทย์อังกฤษรวมไปถึง "ประสิทธิภาพของโอเซลทามิเวียร์แบบรับประทานต่อการแสดงอาการในไข้หวัดใหญ่ซึ่งได้รับการรับรองจากห้องปฏิบัติการอยู่ที่ 61% (อัตราความเสี่ยง 0.39, 95% ช่วงความเชื่อมั่น 0.18-0.85) ที่ 75 มิลลิกรัมต่อวัน [...] หลักฐานที่เหลือแนะว่าโอเซลทามิเวียร์มิได้ลดภาวะแทรกซ้อนในระบบหายใจ (อัตราความเสี่ยง 0.55, ช่วงความเชื่อมั่น 95% 0.22-1.35)"[152]

แหล่งที่มา

WikiPedia: การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 http://www.news.com.au/adelaidenow/story/0,22606,2... http://www.abc.net.au/news/stories/2009/04/30/2556... http://www.abc.net.au/news/stories/2009/05/28/2583... http://news-en.trend.az/society/health/1462401.htm... http://www.phac-aspc.gc.ca/alert-alerte/h1n1/confe... http://www.ajc.com/health/content/shared-auto/heal... http://www.baltimoresun.com/health/bal-md.hs.flu21... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-sty... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokpost.com/news/asia/142274/face-m...